วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ระบำสุโขทัย

ระบำสุโขทัย


ระบำสุโขทัย เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย
ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระพุทธรูปปางสำริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์
ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง

ระบำเชียงแสน

ระบำเชียงแสน


ระบำเชียงแสน เป็นระบำชุดที่ 4 ในระบำโบราณคดี 5 ชุด นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลงจากสำเนียงไทยภาคเหนือ และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ จากจิตรกรรมฝาผนังและลายปูนปั้นที่ประดับโบราณสถานยุคเชียงแสน อาณาจักรลานนา ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23 ดังนั้นท่ารำและดนตรีตลอดจนเครื่องแต่งกายในระบำชุดนี้ จึงมีลีลาสำเนียงและแบบอย่างเป็นแบบภาคเหนือและไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือระคนกัน

ระบำลพบุรี

ระบำลพบุรี


ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ 3 ในระบำโบราณคดี 5 ชุด ที่นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลงจากสำเนียงเขมร นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทยและนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยเลียนแบบลีลา ท่าทาง ของประติมากรรมและภาพสลักที่ปรากฏบนทัพหลังและหน้าบันของปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง อันเป็นศิลปะแบบขอมอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ดังนั้น ท่ารำ และดนตรี ตลอดจนเครื่องแต่งกายในระบำชุดนี้ จึงมีลีลา สำเนียงและแบบอย่างที่เป็นเขมร

ระบำศรีวิชัย


ระบำศรีวิชัย



ระบำศรีวิชัยเป็นระบำราณคดี เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยได้รับแจ้งจากคุณประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่าท่านตนกู อับดุลราห์มาน นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฎศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำเป็นภาพยนต์เรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ท่านตนกูแต่งขึ้น จึงขอให้กรมศิลปากรจัดระบำให้ ๒ ชุด คือ รำซัดชาตรี และระบำศรีวิชัย สำหรับระบำศรีวิชัยเป็นการศึกษาค้นคว้าขึ้นใหม่ โดยหาแบบอย่างเครื่องดนตรี เช่น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า จากภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวา และมอบให้ศาสตราจารย์มนตรี ตราโมท เลือกเครื่องดนตรีของไทยที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบ้าง นำมาผสมปรับปรุงเล่นเพลงประกอบจังหวะระบำขึ้น

ระบำทวาราวดี

ระบำทวาราวดี

ระบำทวาราวดี เป็นระบำชุดแรกในระบำโบราณคดี 5 ชุด ซึ่งเกิดจากแนวความคิดริเริ่ม ของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร โดยให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทยและนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำจากหลักฐานทางโบราณวัตถุ ภาพจิตรกรรมและปฏิมากรรมในสมัยทวาราวดี อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 ตามหลักฐานว่า ประชาชนชาวทวาราวดีเป็นมอญหรือเผ่าชนที่พูดภาษามอญดังนั้น ท่ารำและดนตรี ตลอดจน เครื่องแต่งกายในระบำชุดนี้ จึงมีลีลาสำเนียง และแบบอย่างที่เป็นมอญ

ระบำโบราณคดี

ระบำโบราณคดี

กราบสวัสดีผู้ที่ติดตามอ่านทุกท่าน วันนี้มีโอกาสขอนำเสนอการแสดงที่มีคุณค่าอีกชุดหนึ่งของไทย เป็นที่กล่าวขานและที่รู้จักของคนทั่วไปคือ ระบำโบราณคดี

เพลงระบำโบราณคดีเกิดจากแนวคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งได้พบภาพเขียน ภาพปั้น และภาพจำหลักตามโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ทั้งที่พบในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง จึงได้นำมาประกอบแนวคิดประดิษฐ์สร้างเครื่องดนตรี และท่านาฏศิลปแต่ละสมัยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยขอให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย และศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองขึ้นตามแนวคิดนั้น โดยมอบให้นางลมุล ยมะคุปต์ นางเฉลย ศุขะวณิช และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทย และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ สร้างเป็นระบำโบราณคดี 5 ชุด

โดยประกอบไปด้วย

1. ระบำทวาราวดี

2. ระบำศรีวิชัย

3. ระบำลพบุรี

4. ระบำเชียงแสน

5. ระบำสุโขทัย

สำหรับรายละเอียดและที่มาของระบำโบราณคดีทั้ง 5 ชุดจะเป็น

อย่างไร ผู้เขียนจะนำมา